วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

บทที่ 1
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
ยินดีต้อนรับ..สู่
ดินแดนมหัสจรรย์อีสานใต้       จังหวัดศรีสะเกษ ”

คำขวัญ..จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงพ่อโตคู่บ้าน  ถิ่นฐานปราสาทขอม
  ข้าว หอมกระเทียมดี  มีสวนสมเด็จ
  เขตดงลำดวน  หลากล้วนวัฒนธรรม
เลิศล้ำสามัคคี

ลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้ง
จังหวัดศรีสะเกษตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยสำราญห้วยน้ำคำและห้วยขะยุง ห่างจากแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณสิบกิโลเมตรตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ภูมิประเทศส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลอนลาด ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านบริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด           เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด
เศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชากรจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก  สภาพเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับกลไกด้านตลาด ราคา ปริมาณ และคุณภาพของการผลิตทางการเกษตร อาชีพที่สำคัญของประชากรในจังหวัดศรีสะเกษยังคงเป็นการทำนาข้าว และเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวนชนิดต่างๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปอแก้ว หอม กระเทียม และมะม่วงหิมพานต์ ส่วนอาชีพสำคัญรองลงมาคือ อุตสาหกรรมและการค้า แต่ก็ยังคงน้อยเมื่อเทียบกับด้านการเกษตร
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ทำรายได้มากเป็นอับดับหนึ่งของจังหวัดมีการเพาะปลูกทุกอำเภอ
2. ยางพารา เป็นพืชที่เกษตรกรได้รับการส่งเสริมจากจังหวัด เพื่อทดแทนพืชไร่ชนิดอื่นที่ประสบปัญหาด้านการตลาด
3. มันสำปะหลัง  เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดที่มีการเพาะปลูกกันมาก  เนื่องจากเป็นพืชที่เพาะปลูกง่าย  การดูแลรักษาง่าย  และให้ผลผลิตต่อไร่สูง
ประเพณีและวัฒนธรรม
จังหวัดศรีสะเกษมีกลุ่มชนโบราณที่เข้ามาตั้งฐิ่นฐานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาอาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มที่พูดภาษา ตระกูลมอญ-เขมร ได้แก่ชาวไทยเชื้อสายกูย (ส่วย-เยอ)ชาวไทยเชื้อสายเขมร และกลุ่มชาวไทยเชื้อสายไทย-ลาว หรือที่เรียกว่า ไทย-อีสาน ต่างมีความ  เชื่อและผูกพันในเรื่องธรรมชาติ วิญญาณและเทพารักษ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีฟ้า หรือพญาแถนซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้



การรำผีฟ้าเป็นพิธีกรรมในวิถีชีวิตของกลุ่มชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ที่พูดภาษาไต-ลาวเชื่อว่าการเจ็บไข้เป็นการกระทำของภูตผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษเมื่อล่วงเกินหรือลบหลู่จึงทำให้มีอันเป็นไป ต้องประกอบพิธีกรรมฟ้อนรำบวงสรวงพื่ออัญเชิญผีฟ้าหรือพญาแถนให้ช่วยลงมาดูแลรักษา




สะไน เป็นภาษาเขมรแปลว่า  เขาสัตว์” ที่เป็นเครื่องเป่าของชาวเยอ ทำจากเขาสัตว์ตามหลักความเชื่อของชาวเยอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ  สะไน  เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรมหรืกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น เช่น พิธีกรรมบวงสรวงศาล            พญากะตะศิลา  การแข่งขันเรือ  และเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ (หอยสังข์) 

การทำบุญเซ่นไหว้บรรพบุรุษ(ไงเซนโดนตา)เป็นประเพณีที่สำคัญของประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ในกลุ่มที่มีเชื้อสายหรือที่พูดภาษาเขมร พิธีกรรมนี้จะเริ่มด้วยการเซ่นไหว้ผี บรรพบุรุษ ญาติผู้ใหญ่ บางครั้งจะเรียกว่า วัน สาร์ทเขมร



ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษและเทศกาลดอกลำดวน   สัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า  ส่วย  ลาว  เยอ  และเขมร  วิถีชีวิต  ความเชื่อ  การแต่งกาย  ภายใต้ทิวไม้ที่สะพรั่งด้วยดอกลำดวนบานเต็มสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์”
แหล่งท่องเที่ยว



พระธาตุเรืองรอง เป็นพระธาตุศิลปะแบบพื้นบ้านสี่เผ่า ได้แก่ ส่วย เขมร ลาว เยอ  ตั้งอยู่ที่วัดบ้านสร้างเรือง ตำบลหญ้าปล้อง  อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ



ผามออีแดง ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อยู่บริเวณใกล้เคียงกับทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร เป็นหน้าผาสูงชันกั้นเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา


ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือปราสาทศรีพฤทเธศวร สร้างขึ้นในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธแบบมหายานเพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ



สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 80 พรรษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ


น้ำตกห้วยจันทร์ (น้ำตกกันทรอม) อำเภอขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ มีต้นกำเนิดจาก เทือกเขบรรทัด บริเวณเขาเสลา แล้วไหลลงสู่แม่น้ำมูล น้ำตกห้วยจันทร์เป็นน้ำตกที่สวยงามและมีน้ำตลอดทั้งปี บริเวณโดยรอบร่มรื่น  ด้วยพันธุ์ไม้  นานาชนิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น