วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่2 ศาสนากับการดำเนินชีวิต



บทที่2
ศาสนากับการดำเนินชีวิต
               ศาสนาพุทธ             คริสต์                     อิสลาม           ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

ลักษณะของศาสนา
            ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอน ซึ่งทุกศาสนาประกอบด้วยลักษณะสำคัญที่มีจุดหมายเดียวกันคือ สอนให้คนเป็นคนดี เข้ากับสังคมได้ ให้คนมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมีความสามารถ มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติทั้งยังเป็นที่รวมแห่งความเชื่อและความเคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน
องค์ประกอบของศาสนา
   ทุกศาสนาไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่โดยโดยทั่วไปแล้วศาสนาจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
      1. ศาสดา คือผู้ตั้งหรือผู้สอนศาสนาดั้งเดิม มีปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ เช่นพระพุทธเจ้า พระเยซู พระอัลเลาะห์
      2. คัมภีร์ศาสนาหรือคำสอนในศาสนา คือข้อความที่ท่องจำสืบต่อกันมาแล้วได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรหลักธรรมคำสอนก็รวมอยู่ในข้อนี้ เช่น พระไตรปิฎก คัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์กรุอานเป็นต้น
      3. นักบวชผู้สืบทอด ผู้สืบต่อ ผู้แทน เป็นทางการของศาสนานั้น ๆซึ่งเป็นข้อกำหนดคุณสมบัติและศาสนาได้กำหนดใช้ ได้แก่ พระสงฆ์ บาทหลวง โต๊ะอิหม่ามและอื่นๆ
      4. สถานที่เคารพ ปูชนียสถานหรือสถานที่ทำภารกิจต่างๆทางศาสนาเช่น วัด โบสถ์ วิหาร สุเหร่า
      5. ศาสนิกชน คือผู้ที่ยอมรับนับถือเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา เช่น พุทธศาสนิกชน เป็นต้น
         นอกจากองค์ประกอบที่สำคัญที่กล่าวแล้ว ทุกศาสนาจะต้องมีหลักปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสนาผู้ประกาศและตั้งศาสนาคือ
       1.พิธีกรรม คือ  สิ่งที่ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเลื่อมใสและความจงรักภักดีต่อศาสนา เช่น พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน เป็นต้น
       2. สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายที่แสดงต่อกันว่าตนอยู่ในศาสนาใด หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ เป็นปูชนียวัตถุ เป็นที่พึ่งเป็นที่เคารพบูชา เข่น พระพุทธรูปของศาสนาพุทธ ไม้กางเขน ของศาสนาคริสต์ และพระจันทร์เสี้ยวของศาสนาอิสลาม
      3. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งแทนของความเชื่อต่างๆ เข่น น้ำมนต์ คำสวด แม่น้ำคงคา พระเจ้าและอื่นๆ
     4. องค์กร นับเป็นปัจจัยสำคัญของศาสนา หากองค์กรของศาสนาใดเข้มแข็ง ศาสนาก็จะแผ่ขยายไปได้อย่างมั่นคง เช่น วัด สุเหร่า วิหาร รวมไปถึงนักบวชและนักสอนศาสนาด้วย
      5. คำสอนหรือความเชื่อ แต่ละศาสนามีความเชื่อของตนเป็นพื้นฐานศาสนาใดจะเน้นเรื่องใดก็แล้วแต่ความเชื่อของศาสนาหรือสาวกของศาสนานั้น แต่ทุกศาสนาก็จะสอนให้คนเป็นคนดี
ความสำคัญของศาสนา
           ศาสนาทุกศาสนา มีจุดหมายสำคัญร่วมกัน คือ ต้องการสอนให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนดีอยู่ร่วมกันอย่างสงบ เปรียบได้กับกฎหมายที่ใช้ควบคุมสังคม แต่กฎหมายหากสมาชิกไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตามข้อกำหนด ส่วนในทางศาสนาหากไม่ปฏิบัติตามหลักคำสอนก็จะเกิดความเสื่อมแห่งชีวิตได้รับความทุกข์ตามเหตุแห่งการละเมิดคำสอนนั้นๆ ศาสนาจึงมีความสำคัญทั้งต่อบุคคลและสังคม ดังนี้
       1. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่เหมือนกับเครื่องมือ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการกระทำต่างๆที่มนุษย์นำมาเป็นที่พึ่งและสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิต
      2. เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของสมาชิกรวมไปถึงความสามัคคีของมวลมนุษยชาติและช่วยลดความขัดแย้งทำให้เกิดความสันติ
       3. ป็นเครื่องมือในการอบรมสั่งสอน ขัดเกลาสมาชิกของสังคม เพราะศาสนาสร้างความเคารพศรัทราขึ้นในจิตใจของมนุษย์ให้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำสั่งสอนให้รู้จักเกรงกลัวต่อบาป ปลูกฝังให้รู้จิตกระทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
      4. ทำให้การปฏิบัติตนของสมาชิกในสังคม เป็นบรรทัดฐานเดียวกันบุคคลใดยึดมั่นในหลักคำสอนก็จะทำให้ตัวเองมีความสุขความเจริญได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากผู้อื่นมากยิ่งๆขึ้น
      5. หลักคำสอนต่างๆของศาสนาที่ประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนานกลายเป็นบ่อเกิดแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่หลายคนต้องยึดถือปฏิบัติ เช่น การไปวัด การไหว้พระ การถือศีลอด การไปโบสถ์
      6. เป็นสัญลักษณ์ของสังคม เพราะศาสนาเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น วันพระชาวพุทธไปวัด วันศุกร์ชาวมุสลิมไปสุเหร่า วันอาทิตย์ชาวคริสต์ไปโบสถ์ เป็นต้น
     7. ศาสนาเป็นเครื่องดับความเร่าร้อนทางใจ ทำให้ใจสงบเย็นและสามารถจูงใจและผูกใจคนไว้ได้อย่างแน่นแฟ้น ใน การยึดมั่นต่อคำสั่งสอนซึ่งจะบันดาลให้มนุษย์สุขทุกข์ได้
     8. เป็นมรดกของสังคม ศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของสังคมโลก เพราะทุกศาสนามีศาสนวัตถุ ศาสนิกชน หลักธรรมคำสอนและศาสนพิธีต่างๆมากมายที่เป็นเครื่องชี้นำความก้าวหน้าหรือความเสื่อมถอยของสังคมได้อย่างดี
     9. เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรม ศีลธรรมและคุณธรรม
โดยเฉพาะการศึกษาทั้งในด้านพุทธศึกษา จริยศึกษาและพลศึกษา
    10. เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ เพราะสัตว์ไม่มีศาสนา
ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการดำเนินชีวิต
        ศาสนาทุกศาสนา จะเป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์ มีหลักธรรมคำสั่งสอนที่มุ่งหมายสั่งสอนให้คนที่เป็นสมาชิกในสังคมเป็นคนดี มีคุณธรรมมีเหตุผลและศรัทธาในความถูกต้อง มีพิธีกรรมและเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นศาสนานั้นๆ บุคคลไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ บทบาทใดจะต้องยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะธรรมหรือหลักคำสอนจะช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้ อีกทั้งจะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
      สำหรับคนไทยแล้ว ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญของสังคมไทยโดยยอมรับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาสำคัญประจำชาติและเปิดโอกาสให้บุคคลนับถือศาสนาต่างๆได้โดยอิสระ ยอมให้ศาสนาสำคัญทั้งปวงตั้งอยู่ในประเทศไทยได้ เช่นศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์ อินดู เป็นต้น แต่ศาสนาพุทธเป็นจุดรวมจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่ จึงได้ยึดหลักธรรมมาเป็นพื้นฐานของชีวิตเพื่อที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศด้วย นอกจากศาสนาพุทธแล้ว ยังนำสิ่งที่มีคุณค่าของศาสนาอื่นมาผสมผสานกับหลักของศาสนาพุทธด้วย เช่น พิธีกรรมของพราหมณ์ในการตั้งศาลพระภูมิ การขึ้นบ้านใหม่ การเข้าร่วมทำกิจกรรมกับศาสนาอื่น โดยไม่ถือว่าเป็นการเสื่อมเสียหรือเป็นบาป ยอมรับการแต่งงานกับคนต่างศาสนาได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่ร่วมกันของครอบครัว และยังให้การคุ้มครองป้องกันศาสนาและลัทธิความเชื่อทั้งหลายที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
หลักธรรมกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
       ศาสนาเป็นเรื่องของจิตใจและอารมณ์ สามารถจูงใจและผูกใจคนไว้ได้อย่างแน่นแฟ้น มนุษย์จะนำศาสนาที่คนนับถือติดตัวไปปฏิบัติหรือเผยแพร่ในที่ใหม่ ศาสนาไม่ใช่ของที่อยู่กับที่แต่จะอยู่ตรงที่หนึ่งที่ใดก็ต่อเมื่อมนุษย์ยังไม่อพยพไปไหน บุคคลที่เกิดมาในศาสนาใดก็จะนับถือศาสนานั้น และมีความประพฤติคล้ายกับบุคคลที่นับถือศาสนานั้นๆ เช่น เด็กฝรั่งที่ถูกเลี้ยงแบบไทยและให้นับถือศาสนาพุทธ ก็จะมีพฤติกรรมและความคิดอ่านไปในแบบไทยๆ เป็นต้น ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของคนในสังคม โดยเฉพาะหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตซึ่งทุกศาสนามีความสอดคล้องกัน โดยการยึดมั่นในการทำความดี ความสอดคล้องกันของหลักธรรมของแต่ละศาสนาทำให้บุคคลเข้าใจกัน อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
หลักธรรมที่ศาสนิกชนสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน มีดังนี้
     1. การทำความดี ละเว้นความชั่ว แนวทางการปฏิบัติของแต่ละศาสนาแตกต่างกันแต่ทุกศาสนาก็สอนให้ทำความดีและละเว้นความชั่วทั้งนั้น เช่น ศีล5 ของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์และหลักศรัทธา 6 ประการกับหลักปฏิบัติ 5 ประการของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
    2. การพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง ศาสนาต่างๆ สอนให้คนพึ่งตนเองและพัฒนาตนเองเพื่อให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีพุทธศาสนาสุภาษิต ว่า อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ หมายถึง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ศาสนาพราหมณ์มีหลักอาศรม 4 ในข้อพรหมจารี ที่ให้นักศึกษาเล่าเรียนและในข้อคฤหัสถ์ที่ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย
    3. ความยุติธรรม ความเสมอภาพและเสรีภาพ คำสอนของศาสนาจะเน้นในเรื่องเหล่านี้เพราะทุกเรื่องจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างันติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชาติตระกูลไม่ได้เป็นเครื่องกำหนดความแตกต่างของบุคคล คนที่เกิดมาเท่าเทียมกันทั้งนั้นและสอนให้ทุกคนอยู่ภายใต้อคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติและภยาคติ ศาสนาอิสลามก็สอนให้ดำรงความยุติธรรมอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรมแม้บางครั้งจะกระเทือนต่อตนเอง บิดามารดาหรือญาติบ้างก็ตาม
    4. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ศาสนาต่างๆ สอนให้มีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสงเคราะห์ซึ่งกันและกันด้วยความเมตตากรุณาไม่ใช่หวังผลตอบแทน เช่นพุทธศาสนามีหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามมีการบริจาคซากาต แก่ผู้ขัดสน ศาสนาคริสต์ก็จะเน้นให้มนุษย์เสียสละให้อภัย เอื้อเฟื้อเป็นต้น
    5. ความอุตสาหะและความพยายาม ทุกศาสนาสอนให้คนมีความอุตสาหะ มีความเพียร ความอดทนและมีความพยายามอันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จพร้อมทั้งพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ศาสนาพุทธมีคติเตือนใจว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หรือหลักคำสอนอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศาสนาอิสลามมีการละหมาดวันละ 5 ครั้งจึงถือว่าเป็นความพยายามที่จะขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์
    6. ความรักความเมตตา คำสอนทุกสาสนาจะเน้นเรื่องความรักความเมตตา เพราะการที่คนเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันตินั้น ความรักความเมตตาเป็นสื่อสำคัญอีกทั้งยังเป็นจริยธรรมของศาสนาคริสต์ ในพุทธศาสนาก็มีพุทธศาสนสุภาษิตว่า เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
    7. ความมีคุณธรรมอดทน อดกลั้น เกือบทุกศาสนา มีบทบัญญัติและข้อปฏิบัติในเรื่องนี้เหมือนกัน เช่น ศีลของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์ การถือศีลอดของศาสนาอิสลาม ทุกข้อปฏิบัติคือการให้คนมีคุณธรรม อดทนและอดกลั้น
    8. การยกย่องเคารพบิดามารดาถือเป็นหลักสำคัญของศาสนาต่างๆ ว่าบุพการีเป็นสิ่งควรยกย่องในศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่าบิดา มารดาเป็นพระพรหมของลูก ศาสนาคริสต์มิใช่ในบัญญัติ 10 ประการ ข้อที่ 4 ว่า จงนับถือบิดา มารดาเป็นต้น
    9. การไม่แบ่งชั้นวรรณะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า กำเนิดชาติตระกูลมิได้ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์เป็นกษัตริย์ เป็นพ่อค่า ความประพฤติของบุคคลเป็นเครื่องกำหนดบุคคล ทุกคนเท่าเทียมกัน ศาสนาอิสลามถือเป็นหลักสำคัญว่า หลักศรัทธาและหลักบัญญัติต้องอยู่ในเงื่อนไขการไม่แบ่งชั้นวรรณะอย่างชัดเจน
    10.ไม่เสพสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่พูดจาขยายความ เป็นพื้นฐานของทุกศาสนาที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ เช่น ศีลในศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการในศาสนาคริสต์หลักบัญญัติในศาสนาอิสลาม
หลักคำสอนของศาสนาสำคัญในประเทศไทย
ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
           ประเทศไทยมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ  แต่ไม่มีการกีดกั้นศาสนาอื่นๆ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมศาสนาอื่นๆมาช้านาน จึงมีศาสนาสำคัญๆในประเทศไทย ดังนี้

ศาสนาพุทธ


          พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นศาสนาที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือและถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ที่มีอิทธิพลครอบคลุมไปถึงระบบการปกครอง กริยามารยาทตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีไทย แม้แต่คนไทยที่นับถือศาสนาอื่นๆก็ยอมรับในธรรมเนียมประเพณีและมารยาทเหล่านั้นเพราะเห็นว่าเป็นของไทย หลักธรรมสำคัญของศาสนาพุทธ คือ การทำความดีไม่ทำความชั่วทั้งปวงและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ การจะเป็นคนดีนั้นต้องปฏิบัติตามหลักธรรม คำสั่งสอนของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญ คือ อริยสัจ 4 เบญขันธ์และไตรลักษณ์
   อริยสัจ 4
     อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่สอนคนให้เข้าใจปัญหา แล้วแก้ไขปัญหาได้มีอยู่ 4 ประการ คือ
1. ทุกข์ คือความทุกข์หรือปัญหา ชีวิตของทุกคนในโลกนี้มีปัญหาทั้งปัญหาทั่วไป และปัญหาสากล เช่น ปัญหาความเป็นอยู่ ปัญหาปากท้อง ปัญหาการอยู่ร่วมกับคนผู้อื่น ปัญหาการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อมีปัญหาก็จะเป็นความทุกข์มีทั้งทุกข์กาย ทุกข์ใจและทุกข์จาก การยึดมั่นในตัวเอง เป็นต้น
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา โดยสอนว่าปัญหาเกิดมาจาก สาเหตุหรือปัจจัยที่เรียกว่า ตัณหาหรือความอยากต่างๆ ซึ่งจะแสดงออกมา 3 ลักษณะคือ กามตัณหา คือ ความอยากได้ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานของโลก เช่น บ้าน รถ แหวนเพชร เป็นต้น ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อยากมี บ้านหลังใหญ่ ความเป็นดารา อยากได้เงินมากๆ วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ และหนีให้พ้นจากสภาพที่ไม่ต้องการเช่น ไม่อยากเป็นโจร ไม่อยากพิการ ไม่อยากเป็นคนจน เป็นต้น
 3. นิโรธ คือ การดับทุกข์หรือการแก้ปัญหาให้มีสภาพที่ไม่ทุกข์ต่อไปอีก โดยเชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองไปเป็นผู้แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจศักดิ์สิทธ์ใดๆ มาดลบันดาลให้เป็นไป
  4. มรรค คือ ทางดับทุกข์หรือแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งมีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อยู่ 8 ประการเรียกว่า มรรค 8 หรือ มัณชิมาปฏิปทาน แปลว่า ทางสายกลาง ซึ่งประกอบด้วย
         4.1 สัมมาทิฎฐิ (เห็นชอบ) คือเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
         4.2 สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) คือการนึกคิดในสิ่งที่ถูกต้อง คิดที่จะปราศจากโลภ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่น
         4.3 สัมมาวาจา (วาจาชอบ) ได้แก่การพูดด้วยถ้อยคำที่ไม่มีโทษหรือคำสุภาพ จะเว้นการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ่อ พูดให้แตกความสามัคคี
         4.4 สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ได้แก่การกระทำที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
         4.5 สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) หมายถึง การเลี้ยงชีพด้วยการประกอบอาชีพสุจริต ไม่ประกอบอาชีพทุจริต ค้าอาวุธ ค้ายาเสพติด ฆ่ามนุษย์ เป็นต้น
         4.6 สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) หมายถึง การสะสมความเพียรพยายามไม่ให้เกิดความชั่วขึ้นในจิต ละความชั่วที่เกิดขึ้นให้หมดไป สร้างความดีขึ้นมาเพิ่ม แล้วรักษาความดีที่มีอยู่แล้วให้คงอยู่ตลอดไป
         4.7 สัมมาสติ (ระลึกชอบ) หมายถึง การมีความระลึกรู้ตัว หรือระลึกรู้กายทำให้เกิดประโยชน์ คือ สามารถควบคุมสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ต้องเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ยึดติดกับปัญหา อุปทาน สามารถทำพฤติกรรมต่างๆด้วยเหตุผลของตัวเอง
         4.8 สัมมาสมาธิ (ตั้งใจมั่น) หมายถึง การมีจิตใจแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัย ทำให้กิเลสต่างๆ สงบไป
        เบญจขันธ์
        ไตรลักษณ์ แปลว่า สามัญลักษณะหรือลักษณะ 3 ประการของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั่วไป ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่ในสรรพสิ่ง เป็นหลักที่แน่นอนตายตัว เป็นความจริงที่เกิดขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ
       อนิจจตา คือความไม่เที่ยง ความไม่ยั่งยืน ความไม่ถาวร ความไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มีเกิดขึ้น ดำรงอยู่และเสื่อมสลายไปในที่สุด ควรรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น
      ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ทนไม่ได้ เป็นความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เช่น ทุกข์เพราะการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์เพราะความรัก ความผิดหวัง รวมไปถึงทุกข์ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
       อนันตตา คือ ความไม่มีตัวตนหรือปราศจากาตัวตนที่แก้จริง สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงหรือสังขารทุกชนิดเป็นสิ่งสมมุติขึ้น ดำเนินไปตามเหตุ ตามปัจจัย อย่าถือเป็นเรื่องจริงจังว่าตัวเรา ของเรา ซึ่งจะทำให้เกิดความลุ่มหลงและเป็นทุกข์ได้


ศาสนาคริสต์


ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่และสำคัญศาสนาหนึ่งของโลก ที่มีพระเยซูเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นวิถีทางการดำเนินชีวิตในสังคมของผู้นับถือศาสนาองค์เดียว ปัจจุบันมีนิกายสำคัญๆ 3 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก(Roman eatholie) กรีกออร์ธอดอกซ์(Greek Orthodox) และโปรเตสแตนต์ (Protestant) มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่า
 ไบเบิล (Bible) ซึ่งแบ่งเป้น 2 คัมภีร์คือ คัมภีร์เดิม (พันธสัญญาเดิม Old testament) ที่รับมาจากศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ใหม่ (พันธสัญญาใหม่ New Testament ) ซึ่งเน้นบันทึกชีวิตและคำสอนของพระเยซูรวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ตามความสำนึกของศาสนาคริสต์
หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์
     1. เรื่องความรัก ศาสนาคริสต์ สอนให้รักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนมนุษย์ทั้งมวล โดย ไม่เลือกชนชั้นและเชื้อชาติ ให้เมตตาผู้กระทำผิดโดยไม่ตั้งใจ เห็นใจผู้ที่มีทุกข์และอภัยแม้แต่ผู้ที่วางตัวเป็นศัตรู
     2. หลักตรีเอภานุภาพ เป็นการสอนให้ยึดมั่นเคารพบูชาในองค์ 3 คือ พระบิดา หมายถึง พระยะโฮวา คือผู้สร้างโลกมนุษย์และสรรพสิ่ง พระบุตร คือพระเยซูและพระจิต คือรวมบิดาและพระบุตร อันเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏในจิตวิญญาณของมนุษย์ เพื่อเกื้อกูลให้มนุษย์เป็นคนดี
    3. บาปกำหนด ( Original Sin) เมื่อพระเจ้าสร้างโลกได้สร้างชายหญิง คือ อาดัมและอีฟให้อยู่กินกันอย่างมีความสุข ต่อมาทั้งคู่ได้ทำผิดโดยแอบไปกินผลไม้ต้องห้าม พระเจ้าจึงลงโทษโดยให้ทั้งคู่ทำมาหากินลำบาก แล้วให้ความผิดนั้นตกทอดมาถึงมนุษย์ทุกคน บาปนี้จึงเรียกว่า บาปกำหนด
  4. บัญญัติ 10 ประการ เป็นหลักศาสนาที่อยู่ในคัมภีร์เดิม ซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่ โมเสส ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนาคริสต์มีดังนี้คือ
                 4.1 เคารพพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว                             4.2 ห้ามนับถือรูปบูชาใด ๆ
                 4.3 อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่เคารพ                          4.4 จงถือวันพระเจ้าเป็นวันสำคัญ
                 4.5 เคารพบิดามารดา                                                     4.6 ห้ามฆ่ามนุษย์
                 4.7 ห้ามผิดประเวณี                                                       4.8 ห้ามลักทรัพย์
                 4.9 ห้ามคิดมิชอบ                                                          4.10 อย่าโลภในสิ่งของผู้อื่น

ศาสนาอิสลาม


   ศาสนาอิสลาม มีพระศาสดาคือ พระมะหะหมัดหรือนบีมูฮัมหมัด ที่นับถือพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียว และเป็นศาสนาแห่งกฎหมายเพราะมีคัมภีร์กรุอาน ที่ชัดเจนในตัวไปถือปฏิบัติได้ทันที ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า มุสลิมหรืออิสลามนิกชน มีหลักคำสอนสำคัญคือหลักศรัทธาหรือความเชื่อ 6 ประการกับหลักปฏิบัติ 5 ประการดังนี้


   หลักศรัทธา 6 ประการ
   เป็นหลักบัญญัติในคัมภีร์กรุอาน ที่กำหนดให้ผู้ที่เป็นมุสลิมศรัทธาหรือเชื่อให้หลักสำคัญ ๆ 6 ประการดังนี้
        1.ศรัทธาในพระอัลเลาะห์องค์เดียว ไม่มีแบบอย่างใด ๆ ที่จะยกขึ้นมาเทียบเคียงพระองค์ได้
        2. ศรัทธาในศาสดาองค์ก่อน ๆ และมีศรัทธาเชื่อมั่นว่าพระมะหะมัดเป็นศาสดาองค์สุดท้าย ชาวมุสลิมจะต้องเชื่อในบรรดามะลาอีกะห์(ทูตสวรรค์) ซึ่งมีจำนวนมากและมีหน้าที่ต่างๆ กันทุกองค์จะประกอบแต่ความดีละเว้นความชั่ว
       3. ศรัทธาในคัมภีร์กรุอาน โดยเชื่อว่าพระอัลเลาะห์ได้ประทานมาให้เป็นคัมภีร์สุดท้ายและสมบูรณ์ที่สุด
       4. ศรัทธาในบรรดาศาสนาทูต ศาสนาฑูตเป็นบุคคลที่พระเจ้าเลือกขึ้นมาเพื่อนำคำสั่งสอนของพระองค์ไปสู่มนุษย์ซึ่งมีหลายคน มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในศาสดาทุกองค์ที่กล่าวในคัมภีร์
      5. ศรัทธาในวันพิพากษาโลก ซึ่งเป็นวันที่มนุษย์ทุกคนจะพบกับการเปลี่ยนแปลงแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ เพื่อรับผลกรรมจากการกระทำที่ได้ทำไว้ ผู้ทำดีก็ได้รับผลดี ผู้ทำชั่วก็จะได้รับผลร้าย เป็นต้น
      6. ศรัทธาในกฎสภาวการณ์ของพระเจ้า คือการเชื่อว่าสภาวะของโลกและชีวิตเป็นไปตามอำนาจของพระอัลเลาะห์ ที่ตั้งขึ้น
หลักปฏิบัติ 5 ประการ
     เมื่อชาวมุสลิมมีศรัทธา 6 ประการแล้ว จะต้องแสดงออกถึงความสำนึกด้วยการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 5 ประการที่สอดคล้องกันเพื่อให้ความสุขความสันติแก่ตนเองและสังคม ดังนี้
   1.การปฏิญาณตน ว่าจะศรัทธาเชื่อมั่นในพระอัลเลาะห็ องค์เดียวและมีมะหะมัดเป็นศาสนาทูตของพระอัลเลาะห็ โดยต้องปฏิญาณออกมาจากจิตใจด้วยความศรัทธาอย่างแท้จริง แล้วทำอย่างสม่ำเสมอ
   2. การละหมาด คือ การแสดงควาเคารพตาอพระเจ้า วันละ5 ครั้ง คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน โดยหันหน้าไปทางนครเมกกะฮ์ ก่อนละหมาดต้องทำกายและใจให้สะอาด สงบ การละหมาดจะช่วยขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์หนักแน่น มั่นคงและอดทนในการทำความดี
   3. ชาวมุสลิมต้องถือศีลอด  เป็นเวลา 1 เดือน เรียกว่าเดือนรอมฏอน ด้วยการงดเว้นจากการรับประทานอาหาร การดื่ม การร่วมประเวณี การทำความชั่วทั้งปวง ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก ซึ่งนอกจากจะฝึกความอดทนแล้ว ยังสร้างความเท่าเทียมกันหรือความเสมอภาคให้กับมุสลิมทุกคนด้วย
   4. การบริจาคซากาต คือ การที่ชาวมุสลิมจะต้องบริจาคทรัพย์สิน 2.5เปอร์เซ็นของรายได้ต่อปีเพื่อไว้ช่วยเหลือผู้ยากจน เป็นการทำให้สังคมของชาวมุสลิม มีสภาพดีขึ้นและยังเป็นการลดความตระหนี่และความเห็นแก่ตัวของบุคคลได้
   5. การประกอบพิธีฮัจญ์ คือการไปแสวงบุญที่วิหารกะบะห์ นครเมากกะประเทศซาอุดิอาระเบีย ด้วยในคัมภีร์กรุอาน ได้กล่าวไว้ว่าเป็นความประสงค์ของอัลเลาะห์ ที่ให้มุสลิมซึ่งบรรลุนิติภาวะ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีกำลังทรัพย์ไปบำเพ็ญพิธีฮัจญ์ เพื่อเป็นการแสดงถึงความเสมอภาคและความสามัคคีของชาวมุสลิมทั่วโลก
               นอกจากศรัทธา และหลักปฏิบัติ 5 ซึ่งเป็นการปฏิบัติศาสนากิจโดยตรงแล้วในคัมภีร์กรุอานยังมีบัญญัติเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตที่ชาวมุสลิมต้องปฏิบัติ เช่น การเกิด การสมรส การตาย การปฏิบัติในวันศุกร์และวันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ อีกทั้งยังมีข้อห้ามอีกหลายประการที่ชาวมุสลิมพึงงดเว้น

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู


หลักอาศรม 4
       อาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนของชีวิตหรือแนวทางปฏิบัติตามวัยเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
1.พรหมจารี เป็นระยะของวัยศึกษาเล่าเรียน เริ่มตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ถึง 25 ปี โดยเด็กชายทุกคน ในตระกูลพราหมณ์จะได้รับการคล้องด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า สายธุรำ จากผู้ประพฤติพรหมจรรย์จึงจะถือว่าเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์
 2. คฤหัสถ์ เป็นระยะของวัยครองเรือน อยู่ในช่วงอายุ 25 ปีถึง 50 ปี คือ เมื่อจบการศึกษาแล้วก็มีครอบครัวประกอบอาชีพและปฏิบัติพิธีกรรมตามหน้าที่ของตน
3. วานปรัสถ์ เป็นระยะออกบวช เพื่อแสวงหาความสงบหรือความหลุดพ้นหากไม่ละทิ้งชีวิตครองเรือนก็ต้องบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
4. สันยาสี เป็นระยะสุดท้ายของชีวิต จะออกบวชจาริกแสวงบุญบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนาเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ไม่มีการเกิดอีกคือ โมกษะ
หลักปุรษารถะ
      การดำเนินชีวิตที่ดีเพื่อให้พบความหลุดพ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตโดยจะต้องมีหลักฝึก 4 ประการคือ
         1. อรรถ คือ การแสวงหาทรัพย์ การสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่นคง
         2. กาม คือ การแสวงหาความสุขทางโลกตามหลักธรรมชาติของผู้ครองเรือน
         3. ธรรม คือ การถึงพร้อมด้วยคุณธรรม หลักธรรม หรืออยู่ในระเบียบความประพฤติของคนในสังคม
         4.โมกษะ คือ ความหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นอิสรดภาพทางวิญญาณที่จะก่อให้เกิดความสุขอันเป็นนิรันดร์
หลักปรมาตมันและโมกษะ
ปรมาตมัน คือ ลักษณะของการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดผู้ใดประพฤติดีก็จะไปเกิดในวรรณะที่ดี ผู้ใดประพฤติชั่วก็จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
โมกษะ คือ การหลุดพ้นจากการเวียรว่ายตายเกิด ปราศจากกรรมผูกพันหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงไม่มีการเกิดอีกตลอดไป














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น